場面イラストを使った会話練習 การฝึกสนทนาโดยใช้ภาพสถานการณ์ต่าง | 日本語パートナーズ アイディアBOX

日本語パートナーズ アイディアBOX

タイで活動する日本語パートナーズに役立つアイディアを紹介します。

例えば下の会話を、皆さんならどのように練習させますか。(出典:『みんなの日本語』第3課)

A:すみません、トイレはどこですか。

B:あそこです。

A:どうも。

 

会話スクリプトを配付し丸暗記させる方法もありますが、与えられたセリフを覚えて言うだけでは、あまり面白くないでしょう。それよりも、自分自身でセリフを考え会話を作り上げる方が面白いですし、記憶にも残りやすいものです。また、ある場面で何をどのように言うか考えることは、実生活での発話行為と同じなので、発話能力の向上にもつながります。

そこで、今回は簡単な場面イラストを使った会話の練習方法を紹介します。ポイントは、生徒からセリフを引き出すことです。

 

◎使用するイラスト

 

(注)この会話練習までに、「〇〇はどこですか」「〇〇はここ/そこ/あそこです」の意味を理解し、正しく言えるようになるための練習も行っているという前提です。

 

1)イラストが表している場面を確認(どこ?だれ?等)

NP :イラストを指し、「どこですか。」

生徒:「レストランです。」

NP :ウェイターを指し、「誰ですか。」

生徒:「Waiterです。」「Staffです。」など

       ↓

   同様にして、女性が客であることも確認

   

(注)場面の確認が目的なので、必ずしも日本語で答えられなくてもよい。その場合は、適宜CPに通訳をお願いする。

 

2)生徒からセリフを引き出しながら会話を完成させる

NP :女性の吹き出しを指し、生徒から言葉が出るのを待つ。

生徒:「トイレはどこですか。」「すみません、トイレはどこですか。」など

NP :続いて、ウェイターの吹き出しを指す。

生徒:「トイレはそこです。」「あそこです。」「トイレはあちらです。」など

NP :もう一度女性の吹き出しを指す。

生徒:「ありがとうございます。」「どうも。」「どうもありがとうございます。」など

 

NP:はじめから吹き出しを一つずつ指しながら、生徒から出されたセリフを使って会話を言う。

「すみません、トイレはどこですか。」「あちらです。」「ありがとうございます。」

 (注)一つの吹き出しに複数のセリフが出された場合は、最も適切なものを選んで言う。例えば、ウェイターのセリフとしては「あそこです」より「あちらです」の方が適切なので、後者を選ぶ。

 

NP :もう一度はじめから吹き出しを1つずつ指し、生徒にセリフを言わせる。

生徒:「すみません、トイレはどこですか。」「あちらです。」「ありがとうございます。」

NP :全員が会話の流れを理解できたら、ペア練習をさせる。その場面や登場人物にふさわしい話し方をするよう指示する(「トイレはどこですか!」と大声で明るく尋ねる客はいないでしょう)。

 

ここで使用した会話例は1往復半(女性、男性、女性)ですが、もう少し長い会話を行う場合は、4コマ漫画のようにイラストの枚数を増やします。4往復ぐらいまでが適当です。ただし、あまり複雑な場面だと、会話の流れも複雑になり、生徒からセリフを引き出すのが難しくなります。「この場面で行われる会話はこれしかない」とわかるくらいシンプルな場面を設定することが大切です。

 

絵を描くのが得意な人は、ぜひ自分で描いてみてください。その際に注意することは、描き込みすぎないことです。上のイラストのようにできるだけ簡略化し、どんな場面か一目でわかるように描くことが重要です。また、絵が苦手な人は、インターネットで調べれば、欲しい絵が比較的容易に手に入ります。ためしに「日本語教育 会話 イラスト」で検索すると、使えそうなイラストが何点か出てきます。

また、下のサイトには、『みんなの日本語』のシラバスに対応した自作イラストがあります。

http://skrykk.blog.fc2.com/blog-entry-85.html

 

 

 

ตัวอย่างบทสนทนาข้างล่างนี้  คุณจะฝึกให้นักเรียนพูดอย่างไร (อ้างอิงจาก:『みんなの日本語』第3課)

A:すみません、トイレはどこですか。

B:あそこです。

A:どうも。

 

หลังจากที่ครูแจกสคริปบทสนทนา แล้วให้นักเรียนท่องจำบทสนทนาเพื่อฝึกพูดนั้นก็เป็นวิธีหนึ่งในการสอนสนทนา  แต่การท่องจำแล้วพูดตามบทสนทนาเพียงแค่นั้น นักเรียนคงจะไม่ค่อยสนุกเท่าไร    การให้นักเรียนคิดและแต่งบทสนทนาเองจึงน่าจะเป็นวิธีที่ทำให้นักเรียนสนใจได้มากกว่า   และยังช่วยให้จดจำบทสนทนานั้นได้ง่ายขึ้นอีกด้วย   ซึ่งการให้นักเรียนคิดเองว่าในสถานการณ์นั้น จะทำอะไร และจะพูดอย่างไรเหมือนกับการพูดในชีวิตประจำวัน  จึงช่วยส่งเสริมความสามารถในการพูดของนักเรียนได้อีกด้วย

ดังนั้น  ในครั้งนี้ จะขอแนะนำวิธีการฝึกพูดสนทนาโดยใช้ภาพสถานการณ์ต่างๆ อย่างง่ายๆ  สิ่งสำคัญคือการให้นักเรียนคิดบทสนทนาได้ด้วยตัวเอง

 

◎ภาพที่ใช้

 

(อธิบายเพิ่มเติม)    

ก่อนการฝึกบทสนทนา ครูต้องเช็คความเข้าใจของนักเรียน เช่น ความหมายของ「〇〇はどこですか」「〇〇はここ/そこ/あそこです」ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนฝึกพูดได้อย่างถูกต้อง

 

1)NPเช็คความเข้าใจของนักเรียน ว่าภาพที่ให้ดูนั้นเป็น สถานการณ์ใด โดยถามว่า ที่ไหน  เป็นใคร ฯลฯ

NP:ชี้ที่ภาพ พร้อมกับถามว่า 「どこですか。」

นักเรียน:「レストランです。」

NP:ชี้ที่พนักงานเสริฟอาหาร แล้วถามนักเรียนว่า 「だれですか。」

นักเรียน:「Waiterです。」「Staffです。」เป็นต้น

       ↓

  เช็คว่าลูกค้าเป็นผู้หญิงโดยถามนักเรียนแบบเดียวกัน

 

(อธิบายเพิ่มเติม)   

NP ต้องการเช็คสถานการณ์ที่เห็นในภาพเท่านั้น นักเรียนจึงไม่จำเป็นต้องตอบเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ได้   ในกรณีนี้ NP อาจขอให้  CP ช่วยแปลเป็นภาษาไทยได้ตามความเหมาะสม

 

2)ครูให้นักเรียนคิดว่าจะพูดอย่างไรเพื่อเติมเต็มบทสนทนาให้สมบูรณ์

NP: ชี้ที่ช่องคำพูดของผู้หญิงและรอคำตอบจากนักเรียน

นักเรียน:「トイレはどこですか。」「すみません、トイレはどこですか。」เป็นต้น

NP:ต่อมา    ชี้ที่ช่องคำพูดของคนเสริฟอาหาร

นักเรียน:「トイレはそこです。」「あそこです。」「トイレはあちらです。」เป็นต้น

NP: ชี้ที่ช่องคำพูดของผู้หญิงอีกครั้งหนึ่ง

นักเรียน:「ありがとうございます。」「どうも。」「どうもありがとうございます。」เป็นต้น

 

NP: เริ่มจากชี้ช่องคำพูดทีละช่องพร้อมๆ กับให้นักเรียนพูดบทสนทนาที่คิดเอง

「すみません、トイレはどこですか。」「あちらです。」「ありがとうございます。」

(อธิบายเพิ่มเติม)      

ในกรณีที่ช่องคำพูดช่องเดียว แต่นักเรียนคิดและพูดออกมาได้หลายสำนวน NP ต้องเลือกสำนวนพูดที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในสถานการณ์นั้น เช่น  คำพูดของคนเสริฟอาหาร 「あちらです」จะเหมาะสมกว่า「あそこです」จึงต้องเลือกใช้ 「あちらです」

 

NP:ชี้ช่องคำพูดอีกครั้งหนึ่ง  แล้วให้นักเรียนพูด

นักเรียน:「すみません、トイレはどこですか。」「あちらです。」「ありがとうございます。」

NP:เมื่อนักเรียนทุกคนเข้าใจลำดับขั้นตอนของบทสนทนาแล้ว ให้นักเรียนจับคู่ฝึกพูด

ให้นักเรียนพูดโดยใช้ภาษาที่เหมาะสมกับสถานการณ์และตัวละคร (คงไม่มีลูกค้าที่ถามด้วยเสียงอันดัง ว่า「トイレはどこですか!」

 

ตัวอย่างบทสนทนาที่ใช้ในที่นี้ 1 รอบครึ่ง (ผู้หญิง  ผู้ชาย    ผู้หญิง )  ในกรณีที่จะเพิ่มความยาวของบทสนทนาอีกเล็กน้อย  NP อาจจะเพิ่มจำนวนแผ่นภาพเหมือนกับการ์ตูน 4 ช่องได้  การฝึกพูดประมาณ 4 รอบน่าจะเหมาะสม  แต่ถ้าสถานการณ์ซับซ้อนขึ้น ลำดับขั้นตอนของบทสนทนาก็จะซับซ้อนขึ้นไปด้วย  และจะทำให้นักเรียนคิดบทสนทนาเองได้ยากขึ้น เพียงแค่ให้นักเรียนเข้าใจว่า “การพูดสนทนาในสถานการณ์นี้มีเพียงแค่นี้เท่านั้น”  ดังนั้น การกำหนดสถานการณ์ง่ายๆจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

 

NP ที่วาดภาพเก่งก็ลองให้วาดภาพเอง และระวังอย่าวาดให้มีรายละเอียดในภาพมากเกินไป  ให้วาดภาพที่เข้าใจได้อย่างง่ายๆ เช่นเดียวกับภาพตัวอย่างข้างบน  การวาดภาพที่ดูเดี๋ยวเดียวก็ทราบแล้วว่าเป็นสถานการณ์ใดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น  ส่วน NP ที่วาดภาพไม่เก่งให้หาภาพทางอินเตอร์เนท  จะได้ภาพที่อยากได้ไม่ลำบาก ลองค้นหาภาพจาก「日本語教育 会話 イラスト」 จะมีภาพที่น่าจะใช้ได้หลายภาพ ในเวปด้านล่างจะมีภาพที่ทำเองตามหัวข้อการเรียนในตำรา『みんなの日本語』

http://skrykk.blog.fc2.com/blog-entry-85.html