ในช่วงอากาศร้อนแบบนี้ เรามาทำสแลนบังแดดให้กับต้นไม้น้อย ๆ ของเรากัน ตอนเด็กเราจำได้ว่าที่บ้านเรานั้นซื้อสแลนบังแดดมาเยอะมาก ด้วยความที่เป็นบ้านสวนด้วยมั้ง ซึ่งบ้านของเรามีหมดไม่ว่าจะเป็นสีเขียว สีดำ และสีฟ้า โดยส่วนใหญ่จะมีแต่สีเขียวมากกว่า ซึ่งบ้านเรานั้นใช้แต่ละสีแตกต่างกันออกไป สีเขียวใช้กับพืช สีฟ้าใช้กับบ่อปลา ส่วนสีดำนั้นเอาไว้ใช้คลุมบังแดดเครื่องมือเครื่องใช้เป็นส่วนใหญ่ ตรรกะการเลือกสีของบ้านเรานั้นไม่มีอะไรเลย พืช = สีเขียว น้ำ = สีฟ้า ส่วนสีดำเวลามองจากที่มืดแล้วมันดูกลมกลืน การเลือกสีสแลนของบ้านเรามีประมาณนี้

 

สแลนทำจากอะไร?

วัตถุุดิบที่ใช้ในการผลิต คือ High Density Polyethylene หรือเรียกชื่อย่อว่า HDPE เป็นพลาสติกประเภทโพลิเอทิลีน ที่มีความหนาแน่นสูง มีคุณสมบัติพิเศษเมื่อนำไปใช้งานหลายอย่าง ได้แก่
  • มีสีขุ่น แสงผ่านได้น้อย เหมาะกับการนำไปผลิตเป็นวัตถุป้องกันแสง
  • ทนต่อความร้อนจากแสงแดดและความร้อนจากสภาพอากาศได้สูงถึง 80 – 100 องศาเซลเซียส
  • ทนต่อความเย็นได้ต่ำกว่าระดับจุดเยือกแข็ง
  • ป้องกันความชื้นซึมผ่านได้ดีมาก จึงสามารถใช้งานได้ทั้งการป้องกันการเปียกชื้น และ การเก็บกักรักษาความชุ่มชื้น
  • ไม่ไวต่อสารเคมี จึงสามารถใช้ได้ทั้งกับสภาพความเป็นกรด และเป็นด่าง
  • มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง ทนทานนานปี
  • จำกัดการผ่านของอากาศ จึงใช้งานได้ทั้งการป้องกันอากาศจากภายนอก และปกป้องควบคุมบรรยากาศภายใน
  • สามารถใส่เม็ดสีได้โดยไม่กระทบต่อคุณสมบัติการใช้งาน
สแลน มีกี่ประเภท?
 

แบ่งประเภทตามกรรมวิธีการผลิต ได้ 2 ประเภท คือ
  • สแลนแบบถัก
ชนิดนี้ทำจากโพลิเอทิลีนน้ำหนักเบา จึงเหมาะกับเกษตรกรรม การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ กสิกรรมทุกประเภท
  • สแลนแบบทอ
ตาข่ายชนิดนี้มีน้ำหนักมากกว่า ทิ้งตัวดี มีความยืดหยุ่นและทนทานสูง จึงนิยมใช้ในการเลี้ยงสัตว์และทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแน่นหนามั่นคง
 

สแลน ช่วยลดต้นทุนการใช้น้ำและปุ๋ย

การปลูกพืชบางชนิด โดยเฉพาะพืชจากต่างประเทศที่นำมาเพาะในประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน ทำให้เกษตรกร ผู้เพาะปลูกต้องสิ้นเปลืองต้นทุนไปกับการให้น้ำและให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงเร่งการเจริญเติบโต และการใช้ปุ๋ยมากเกินไปจะส่งผลเสียตามมา แม้ว่าปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยจากธรรมชาติหรือปุ๋ยคอก ก็ตาม ผลกระทบที่ตามมา คือ ทำให้ดินมีสภาพความเป็นกรดหรือด่างสูงมากเกินไป หรือทำให้พืชเสี่ยงต่อการเป็นโรค เพราะโรคระบาดบางชนิดก็มากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยมูลสัตว์

👍 หากเกษตรกรหันมาใช้สแลนและเลือกแบบที่เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูก จะทำให้เกษตรกรสามารถปรับและควบคุมสภาพแวดล้อมได้ด้วยเช่นกัน คือ

  • ควบคุมอุณหภูมิ ความร้อน
  • ควบคุมอากาศที่ถ่ายเท
  • ควบคุมความชื้น
  • ควบคุมปริมาณน้ำฝน
  • ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชเติบโต ได้ผลผลิตงอกงามดี โดยไม่ต้องรดน้ำบ่อย ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก จึงถือเป็นการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรได้อีกทางด้วย

ซึ่งพืชต้องการแสงสีน้ำเงินและสีแดงเป็นหลัก ซึ่งรวมอยู่ในแสงสีขาวอยู่แล้ว ถ้าแสงสีเหล่านี้ถูกตัดทอนออกไปจะมีผลต่อการสังเคราะห์แสงจนถึงการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้คนส่วนใหญ่เลือกใช้สแลนสีเขียวมากกว่าสแลนสีดำ เพราะสแลนสีดำเก็บความร้อนได้ดีกว่าสีเขียว แต่ส่งผลระยะยาวคือ สแลนสีดำจะผุพัง เสื่อมสภาพเร็วกว่าสแลนสีเขียวนั่นเอง

สำหรับเกษตรกรที่กำลังมองหาสแลนไว้ใช้สำหรับบังแสงให้แปลงเพาะปลูก อาจต้องคำนึงถึงเรื่องช่วงวัยของพืชตามไปด้วย เช่น ช่วงเพาะและอนุบาลต้นกล้า จำเป็นต้องลดแสงแดดสูง จึงควรใช้สแลน 80% เพราะต้นไม้จะได้เติบโตได้ดี เมื่อต้นกล้าแข็งแรงดีแล้ว เราควรเปลี่ยนมาใช้สแลน 50% เพื่อเพิ่มปริมาณแสงแดดมากขึ้น เว้นแต่การเลี้ยงพืชที่ต้องการแสงรำไรในทุกช่วงวัย เช่น กล้วยไม้ เราควรใช้สแลน 80% ตลอดช่วงอายุ

 

❝ ด้วยการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะให้ร่มเงาแก่แปลงพืชผัก แปลงดอกไม้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการคลุมแปลงปลูก หรือทำเป็นรั้วแบ่งพื้นที่ในการทำปศุสัตว์และประมงต่าง ๆ เช่น บ่อกุ้งและบ่อปลา เพื่อให้ร่มเงาและป้องกันไม่ให้แสงแดดส่งผลกระทบต่อพันธุ์ปศุสัตว์ โดยเราสามารถเลือกอัตราการบังแสงให้เหมาะสมกับพืชหรือฟาร์มของเราโดยดูจากเปอร์เซ็นต์การกรองแสงที่ระบุมากับตัวสแลน โดยค่าเปอร์เซ็นต์ยิ่งสูง ยิ่งสามารถบังแสงได้มากขึ้น และยังสามารถเลือกคุณภาพความทนทานของสแลนได้จากฝีเข็มในการทอยิ่งใช้หลายเข็มยิ่ง